♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ เทคนิคการนำเสนอ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥
*.:。✿*゚’゚・✿.。.:*
1. ลักษณะการนำเสนอที่ดี
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ มีความต้องการที่แน่ชัดว่า เสนอเพื่ออะไร โดยไม่
ต้องให้ผู้รับรับการนำเสนอต้องถามว่าต้องการให้พิจารณาอะไร
2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม กล่าวคือ มีความกระทัดรัดได้ใจความ เรียงลำดับไม่
สนใช้ภาษาเข้าใจง่าย ใช้ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ช่วยให้พิจารณาข้อมูลได้สะดวก
3. เนื้อหาสาระดี กล่าวคือ มีความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน ตรง
ตามความต้องการ มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัย และมีเนื้อหาเพียงพอแก่การพิจารณา
4. มีข้อเสนอที่ดี กล่าวคือ มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ ทาง
เลือกที่เห็นได้ชัด เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
•·.·´¯`·.·• .·´¯`·.><((((º> —(•
2. เทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วยวาจา
ปัจจุบันในวงการต่างๆมีการนำเสนอข้อมูลด้วยวาจาไปใช้อย่างแพร่หลายบทความนี้จึงใคร่ขอเสนอข้อแนะนำหลักสามประการที่จะช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จในการนำเสนอข้อมูลด้วยวาจากับบุคคลต่างๆ หลักที่จะกล่าวถึงนี้เกิดจากสามัญสำนึกที่เราทั้งหลายทราบกันดีอยู่แล้ว แต่มักจะไม่ได้คำนึงถึงและไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรหลักการที่สำคัญสามประการในการนำเสนอข้อมูลได้แก่
1. ให้ใช้ทัศนูปกรณ์ (visual aids) โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อในการการถ่ายทอดข้อมูลทุกครั้งที่สามารถทำได้ การใช้รูปภาพประกอบการนำเสนอเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการนำเสนอข้อมูลด้วยวาจา มีผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาค้นคว้ามาเป็นเวลาหลายปีได้กล่าวไว้ว่า คนเราสามารถรับและจดจำข้อมูลได้ดีหากข้อมูลนั้นถูกถ่ายทอดมาในลักษณะของรูปภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า “รูปภาพหนึ่งรูปสามารถอธิบายความได้ดีกว่าถ้อยคำหนึ่งพันคำ” (A picture is worth a thousand words.)
2. ให้ฝึกซ้อมการนำเสนอบ่อยๆ อย่างน้อยสามครั้ง การฝึกซ้อมการนำเสนอเป็นสิ่งที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งในขั้นตอนของการเตรียมการนำเสนอ ข้อควรปฏิบัติของการฝึกซ้อมมีสี่ประการดังนี้
1) ควรฝึกซ้อมโดยการพูดออกเสียงดังๆอย่างน้อยสี่ครั้ง ท่านควรฝึกซ้อมการนำเสนอต่อหน้าผู้อื่น อาทิ ครอบครัว เพื่อน ผู้ร่วมงาน บุคคลเหล่านี้ย่อมจะช่วยชี้แจงให้ท่านทราบถึงข้อควรแก้ไขและอาจช่วยเหลือท่านได้ในกรณีต่างๆเพื่อให้ท่านสามารถปรับปรุงการนำเสนอจนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
2) ควรใช้นาฬิกาช่วยจับเวลาโดยเฉพาะในกรณีที่การนำเสนอมีช่วงเวลาสั้นมากๆเช่นให้เวลานำเสนอเพียงห้านาทีเท่านั้นเป็นต้น ในวันที่นำเสนอจริงๆท่านอาจดูเวลาจากนาฬิกาที่ติดไว้ที่ฝาผนังห้องหรือนาฬิกาข้อมือของท่านเอง (ควรถอดวางไว้ที่แท่นสำหรับยืนพูด) เพื่อเตือนตนเองให้นำเสนอให้เหมาะสมกับเวลาที่เหลืออยู่
3) ควรจำเนื้อหาการนำเสนอให้ได้ ท่านจะได้มั่นใจเวลานำเสนอต่อหน้าผู้ฟัง ท่านจะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องใช้วิธีอ่านหรือเหลือบตามองเนื้อหาในกระดาษคู่มือเป็นระยะๆ ให้ใช้หลัก.“สามประการ” ทุกครั้งที่มีโอกาสในการนำเสนอของท่าน เช่นในการยกตัวอย่าง การเตือนความจำ การระบุข้อพึงปฏิบัติหรือข้อยกเว้น เป็นต้น
การนำเสนอเนื้อหาที่สำคัญและจำกัดเฉพาะที่ประเด็นจำเป็นจริงๆย่อมจะเป็นผลดีกว่าการนำเสนอเนื้อหาที่มากเกินไป ดังคำกล่าวที่ว่า “น้อยไปดีกว่ามากไป” (Less is more.)หากท่านมีประเด็นที่จะกล่าวถึงสักสี่ประเด็นก็ให้ตัดประเด็นหนึ่งออกไปเสีย เพราะถึงแม้ว่าท่านจะกล่าวมากกว่าสามประเด็น ผู้ฟังก็ย่อมที่จะไม่สามารถจดจำได้เกินกว่าสามประเด็นอยู่ดี ย่อมไม่มีใครที่จะบ่นหรือตำหนิว่าการนำเสนอของท่านสั้นเกินไป ผู้ฟังย่อมประทับใจในการนำเสนอของท่านและยังสามารถจดจำประเด็นหลักสามประการที่ท่านได้ระบุไปแล้วด้วย
4)
ควรบันทึกวีดีทัศน์หรือเสียงของตัวท่านเอง
วิธีง่ายๆเช่นนี้จะช่วยให้ท่านรับทราบข้อดีและข้อควรปรับปรุงเพื่อให้การนำเสนอออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ
3. ให้ตระหนักว่าผู้ฟังโดยทั่วไปจะสามารถจดจำข้อความได้ดีเพียงสามประการเท่านั้น ฉะนั้นท่านควรวางแผนล่วงหน้าว่าสามประเด็นหลักที่ท่านประสงค์จะให้ผู้ฟังจำได้ดีนั้นมีอะไรบ้าง
และวางแผนต่อไปด้วยว่าท่านจะนำเสนอสามประเด็นหลักดังกล่าวอย่างไรเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจและจำได้ดี การนำเสนอประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ การเริ่มต้นการนำเสนอ
การนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดและการยุติการนำเสนอ ท่านควรวางแผนว่าท่านจะปฏิบัติอย่างไรบ้างในแต่ช่วงเวลาของแต่ละส่วนโดยทั่วไปแล้วในส่วนของการเริ่มต้นการนำเสนอ
ท่านควรชักจูงให้ผู้ฟังสนใจในสิ่งที่ท่านจะนำเสนอ
นอกจากนี้ท่านควรจูงใจให้ผู้ฟังรู้สึกคุ้นเคยเป็นกันเองกับท่านในฐานะวิทยากรและกับผู้ฟังท่านอื่นๆด้วย
สำหรับการยุติการนำเสนอนั้นท่านควรรวบรัดและสรุปเนื้อหาให้ดีให้ประทับใจผู้ฟัง
☀ <º))))><.·´¯`·.
3.
คุณสมบัติของผู้นำเสนอ
ในการนำเสนอด้วยวาจา คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้วางใจ เชื่อถือ และการยอมรับได้มาก เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ
ผู้นำเสนอที่ประสพความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีบุคลิกดี
2. มีความรู้อย่างถ่องแท้
3. มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
5. มีภาพลักษณ์ที่ดี
6. มีน้ำเสียงชัดเจน
7. มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ
8. มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์
9. มีความช่างสังเกต
10. มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี
•·.·´¯`·.·• .·´¯`·.><((((º> —(•
4. ทักษะของผู้นำเสนอ
ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีทักษะหลายด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะดังต่อไปนี้
1.ทักษะในการคิด (conceptual skill
) ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้ และ สร้างความชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหาสาระจากข้อมูลที่มีอยู่ ผู้นำเสนอก็จะต้องคิดพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล และลำดับความคิด เพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ ระยะเวลา และโอกาส
2.ทักษะในการฟัง (listening skill ) ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟัง และสั่งสมปัญญาเป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำมากลั่นกรอง เรียบเรียงเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ
3.ทักษะในการพูด (speaking skill ) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด เพื่อบอกเล่า
เนื่องโน้นน้าวจูงใจ ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
4.ทักษะการอ่าน (reading skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิชำนาญ
ชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล สามารถประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ
5.ทักษะในการเขียน (writing skill )ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน
เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ และ ทัศนคติ ของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบโดยใช้ตัวอักษร การนำเสนอด้วยการเขียนจึงต้องมีความประณีต พิถีพิถันในการเลือกใช้คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม
6.ทักษะในการถ่ายทอด (delivery skill
) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ
☀ <º))))><.·´¯`·.
5. การตอบคำถามในการนำเสนอ
การตอบคำถามเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ แม้ว่าการนำเสนอเรื่องต่างๆจะเป็นการนำเสนอที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการบอกเล่าเรื่องให้ทราบ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวจากผู้นำเสนอไปยังผู้รับการนำเสนอ แต่ในการที่จะให้เกิดการสื่อสารที่สมบูรณ์ มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก็ควรจะมีช่วงเวลาที่เปิดให้มีการซักถามข้อสงสัย หรือสิ่งที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มขึ้น เป็นการสื่อสารสองทาง
ในการนำเสนอส่วนใหญ่ จะมีการเชื้อเชิญให้มีการซักถามในตอนท้ายของการนำเสนอ ดังนั้นผู้นำเสนอจึงต้องมีหลักการเป็นข้อยึดถือในการปฏิบัติดังนี้
1.ต้องจัดเวลาให้เหมาะสมในการเปิดการซักถาม อย่าให้มีเวลามากเกินไป จนเกิดคำถามที่ไม่มีสาระหรือคำถามที่ตั้งใจให้การนำเสนอเกิดการเสียหาย
แต่ก็ควรจะเผื่อเวลาให้เพียงพอ
2.ต้องคาดคะเนคำถามที่จะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมคำตอบที่เหมาะสม และสามารถเตรียมเอกสาร
หรือหลักฐานประกอบคำตอบได้
3.ต้องแสดงความยินดีต้อนรับคำถาม แม้จะเป็นคำถามที่ไร้สาระ หรือแฝงด้วยความประสงค์ร้าย แต่ก็สามารถจะเลือกตอบ
และ สงวนคำตอบไว้ตอบเฉพาะตัวผู้ถามภายหลังก็ได้
4.ต้องรู้จักการช่วยขัดเกลาคำถามที่วกวน หรือคลุมเครือ หรือช่วยเรียบเรียงคำถาม
ที่มีข้อความยืดยาว เยิ่นเย้อให้กระชับขึ้น
5.ต้องตอบให้ตรงประเด็น หมายถึงตรงกับเรื่องที่ถามไม่ตอบเลี่ยง หรือตอบคลุม
เครือ ตอบเป็นภาษาวิชาการ ตอบเป็นหลักทฤษฎีพูดเป็นนามธรรม พูดยอกย้อน ประชดประชัน ทำให้เกิดประเด็นคำถามตามมาอีกไม่รู้จบสิ้น
•·.·´¯`·.·• .·´¯`·.><((((º> —(•
6. 5 สิ่งที่ไม่ควรทำ ในการนำเสนองาน พร้อมวิธีแก้ไข
ข้อที่ 1 อาขยาน อ่านกระจุย
การขึ้นไปอ่าน (อาขยาน) ตามเนื้อหาที่มีบน PowerPoint หรือ Keynote เหมือนหุ่นยนต์ นี่เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ (ถ้าพูดถึงก็คือติดอันดับ 1 ตลอดกาล) จากการนำเสนองานของมือใหม่หัดนำเสนอหรือแม้กระทั่งคนที่ไม่ใช่มือใหม่แล้ว ก็ยังเลือกการนำเสนอแบบนี้ ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้วก็ไม่ต่างกับการพิมพ์เนื้อหาทั้งหมดมาให้ผู้ฟังเอากลับบ้านไปอ่าน
วิธีแก้ไข ควรต้องศึกษาเนื้อหาหรือสิ่งที่เราจะนำเสนอให้ดีและถ่องแท้เสียก่อน เนื้อหาบน PowerPoint หรือ Keynote เป็นเพียง Guide นำทางเพื่อเข้าสู่เนื้อหาที่แท้จริงที่เราจะเป็นคนนำเสนอ และเพื่อดึงความสนใจให้กับผู้ฟัง แทนที่
ข้อที่ 2 อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคอมฯ (และอุปกรณ์ทั้งหลาย)
อย่าไปไว้ใจกับอุปกรณ์ที่จะใช้นำเสนอที่แม้เราจะเป็นคนเตรียมเองก็ตาม เพราะเรามักจะเจอกับปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ของเรา หรือแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์เราเองอาจจะพังในเวลานั้นไปดื้อๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น
วิธีแก้ไข ให้เวลากับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการซักซ้อมก่อนที่จะขึ้นไปนำเสนองาน โดยหากสามารถไปที่ห้องที่ใช้ในการนำเสนอได้ก่อนสัก 1 วันล่วงหน้าก็ให้ไปทดสอบอุปกรณ์ก่อนเลย แต่ถ้าไม่สามารถไปที่ห้องนั้นได้ก่อนวันจริง ให้ใช้เวลาก่อนสัก 10-30 นาทีเพื่อที่จะได้ทดสอบเครื่องและหากมีปัญหาจะยังพอมีเวลาในการคิดแผนสองรองรับไว้
ข้อที่ 3 อย่านอกเรื่องไปไกล
การที่จะนำเสนองานได้นั้น พื้นฐานสำหรับบางคนก็คือการเป็นคนชอบพูดชอบคุย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้คนดูไม่น่าเบื่อ แต่สิ่งที่อาจจะคาดไม่ถึงนั่นคือการหลุดจากสิ่งที่จะนำเสนอจริงๆ หรือพูดในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่ตั้งเอาไว้มากจนเกินไป จนอาจทำให้คนที่ตั้งใจจะมาฟังสิ่งที่เขาต้องการนั้นผิดหวัง แถมยังอาจหมดเวลาโดยไม่รู้ตัว ทำให้ผู้พูดไม่ได้พูดสิ่งที่เป็นสาระสำคัญได้ทัน
วิธีแก้ไข ระลึกอยู่เสมอว่าเรามีหัวข้อในการพูดที่ต้องการจะเน้นหรือ Focus ไว้เป็นที่ตั้ง การพูดให้ชัดเจนในหัวข้อตั้งแต่การปูเริ่มต้นเล่าเรื่อง, แก่นของเรื่อง จนถึงสรุปสุดท้ายของเรื่องว่าเป็นอย่างไร จะช่วยให้คนฟังสามารถเข้าใจและเข้าถึงสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งการคำนวณเวลาในการพูดแต่ละหัวข้อว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ด้วยครับ
ข้อที่ 4 อย่าเยอะ!
ในบางครั้งข้อมูลของผู้พูดเองนั้นมีปริมาณค่อนข้างมาก และก็เข้าใจว่าผู้พูดก็อยากจะพูดในสิ่งที่ตัวเองรู้หรือเตรียมตัวให้กับผู้ฟัง เนื่องด้วยปริมาณข้อมูลที่ป้อนหรือถ่ายทอดออกไปนั้นอาจมีมากจนเกินไป หรือคนฟังเองไม่สามารถรับรู้และเข้าใจได้ ผลที่ตามมาก็คือประเด็นที่สำคัญที่สุดนั้นอาจถูกกลืนจมหายไปกับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่วิ่งเข้าไปถาโถมผู้พูด
วิธีแก้ไข ถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ให้ออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด ด้วยการใช้คำพูดและประโยคที่สามารถอ่านเพียงครั้งเดียวแล้วเข้าใจได้โดยทันที ซึ่งสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับศาสตร์และเทคนิคในการนำเสนอของผู้พูด ถ้าจะให้ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เห็นภาพชัดที่สุดก็คงเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของทาง Apple ผ่านทาง Keynote ที่เขามักจะดึงเอาข้อความเด็ดๆ มาเพียงไม่กี่คำหรือไม่กี่ประโยคมาบรรยายสิ่งที่เขาอยากจะสื่อ โดยทำให้ทุกคนเข้าใจไปในทางเดียวกันแทบจะทั้งหมด
สำหรับข้อมูลในส่วนที่เป็นส่วนเสริมที่มีความสำคัญรองลงมาจากใจความหลัก ให้เก็บเพื่อนำไปขยายความไว้ในช่วงถามตอบ (Q&A) น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
ข้อที่ 5 ใช้ตัวอักษรบนหน้าสไลด์ให้น้อยที่สุด
ข้อนี้จะใกล้เคียงกับข้อแรกและข้อที่ 4 คราวนี้มาดูในด้านของการนำเสนอบน Powerpoint หรือ Keynote เพราะมันคือสิ่งที่จะช่วยนำให้ทั้งผู้นำเสนอและผู้ฟังได้รับรู้ว่าจะมีเรื่องราวอะไรถูกพูดถึงบ้าง ซึ่งสิ่งที่เจอในบางครั้งนั้น มีตัวอักษรเต็มไปหมด ก็เข้าใจว่าผู้พูดนั้นอยากจะบอกสรรพคุณหรือบอกสิ่งต่างๆ ที่อยากให้คนอื่นรู้ ซึ่งนี่จะทำให้เกิดปัญหาว่าผู้พูดจะถูกสไลด์ที่มีแต่ตัวอักษรกลืนไปแบบไม่รู้ตัว เพราะผู้ฟังจะเอาแต่สนใจตัวอักษรที่มีอยู่ล้นทะลักในหน้าสไลด์ไปโดยปริยาย…
วิธีแก้ไข ลดการใช้ตัวอักษร แต่ให้เล่าเรื่องราวหรือแทนคำต่างๆ ด้วยรูปภาพที่สื่อความหมายและเหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการเป็นตัวช่วย วิธีนี้จะช่วยให้สื่อสารกับคนที่ฟังได้ง่ายขึ้น แต่รูปภาพอย่างเดียวก็คงสื่อความหมายของตัวเลขหรือหัวข้อแต่ละอย่างไม่ได้แน่ๆ ดังนั้นโดยส่วนใหญ่เราจะเห็นการใช้รูปภาพประกอบกับเนื้อหาที่เป็นแก่นสารควบคู่กันไป
ตัวอย่างการใช้รูปภาพประกอบกับข้อมูล
ทั้งหมดคือ 5 ข้อ ดูแล้วคงเป็นสิ่งเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะต้องทำการนำเสนอผลงานของตนที่มีอยู่ หรือใช้ในการสอนหรือการพูดในที่ต่างๆ ได้ ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนและประสบการณ์ในการพูดและการจัดการ
อ้างอิง
bet365 bet365 188bet 188bet planet win 365 planet win 365 starvegad starvegad 카지노 카지노 1xbet 1xbet matchpoint matchpoint ラッキーニッキー ラッキーニッキー bet365 bet365 798
ตอบลบ